ทูทันส์, ทิวทันส์ (The Teutons : German)
ประวัติศาสตร์เป็นเผ่าเยอรมันโบราณเผ่าหนึ่ง มีอยู่จริงในช่วง พ.ศ.443 (ประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตกาล) อาศัยอยู่บนแหลมที่ชื่อจัสแลน ประชากรของเผ่านี้ประกอบไปด้วยชาวกรีกและชาวเยอรมันโ บราณบางส่วน ผู้ที่มีชื่อเสียง ของเผ่านี้ได้แก่ สตราโบล(นักกวีและนักภูมิศาสตร์โบราณ) และปกติเผ่าทูทันส์จะไม่ติดต่อกับเผ่าคิมบริ (Cimbri)(ชนเผ่าเยอรมันโบราณ) ใน ช่วงปี พ.ศ.443 นั่นเอง ชาวเผ่าทูทันส์กับชาวเผ่าคิมบริ ได้รวมกันอพยพลงทางตอนใต้ของทวีปยุโรปบางส่วน อีกส่วนได้อพยพไปทางทิศตะวันตกของทวีปยุโรป และไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านที่ชื่อดานูบี ในช่วงนั้นเองการแพร่ ขยาย ของอาณาจักรโรมันได้เข้าไปถึง ชาวเผ่าทูทันส์และชาวเผ่าคิมบริจึงได้จับมือกันทำสงคราม และขอผ่านแดนชาวเผ่ากอลส์ เพื่อโจมตีชาวโรมันที่อิตาลี หลังจากได้รับชัยชนะได้ไม่นานนัก ภายในปี พ.ศ.444-พ.ศ.445 ชาวเผ่าทูทันส์และชาวเผ่าคิมบริต้องทำสงครามอีกครั้ง และได้พ่ายแพ้ให้กับขุนศึกชาวโรมันที่ชื่อ ไกอุส แลลิอุส(Gaius Laelius) ด้วยสงครามครั้งนั้นเองทำให้ชาวเผ่าทูทันส์และชาวเผ่าคิมบริต้องแตกกระจายและสูญหายไปในที่สุด
อัศวินทิวทันนั้น แรกเริ่มเดิมทีมีตั้งฐานแห่งแรกที่เมือง Acre ต่อมาภายหลังได้รับบริจาคที่ดินจาก จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และชาติอื่นๆ และจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิเฟรดเดอริกII ยังเป็นสหายสนิทของ Hermann von Salza ผู้นำของอัศวินทิวทัน อีกด้วย แต่ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุนจากผู้ทรงอิทธิพล แต่อิทธิพลของอัศวินทิวทัน ในอาณาจักรของพวกครูเสดกลับสู้กลุ่มอัศวิน คริสเตียนกลุ่มอื่นอย่าง Templars และ Hospitallers ไม่ได้ หลังจากที่กองทัพครูเสดพ่ายแพ้ต่อพวกมุสลิม กษัตริย์แห่งฮังการีก็ได้รับพวก อัศวินทิวทัน เข้ามาอยู่ในดินแดนของตน และพวกอัศวินทิวทัน ก็ช่วยปกป้องฮังการีจากพวก Cuman อย่างแข็งขัน พวก อัศวินทิวทัน จึงได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานใน Transylvania แต่หลังจากนั้นไม่นาน กษัตริย์แห่งฮังการีก็โกรธที่พวก อัศวินทิวทันเชื่อฟังคำสั่งของพระสันตปาปามากกว่าคำสั่งของตัวเอง จึงสั่งเนรเทศพวกอัศวินทิวทันออกไป
ใน ปี 1226 Grand Master Hermann von Salza ผู้นำของ อัศวินทิวทัน ก็ได้ร่วมมือกับ Duke Konrad I of Masovia ยกทัพเข้าไปในดินแดนไปรัสเซีย ที่ซึ่งยังมี พวกที่ยังนับถือศาสนา Pagan อยู่เป็นจำนวนมาก การยกทัพครั้งนี้เป็นการแพร่ขยายอิทธิพลของศาสนาคริสต์เข้าสู่ปรัสเซีย และไล่ล่าพวก Pagan ที่ต่อต้านศาสนาคริสต์ หลังจาก 50 ปีแห่งการต่อสู้นองเลือด พวกอัศวินทิวทันได้ตั้งรัฐของตัวเองขึ้นมาในดินแดนรัสเซีย ซึ่งเทียบได้กับรัฐของพวก ลัทธิเซนต์จอห์นบนเกาะ Rhodes หลังจากตั้งถิ่นฐานมั่นคง และฟื้นตัวจากโรคระบาด Black Death ดีแล้ว พวกอัศวินทิวทัน ก็เริ่มวางแผนที่จะรุกรานรัสเซีย เพื่อไปพิชิตพวกนิกายออโธด๊อกให้หันมานับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พวก อัศวินทิวทัน กลับพ่ายแพ้ต่อ Prince Alexander Nevsky แห่ง Novgorod แผนการนี้จึงถูกยกเลิก ถึงแม้จะพ่ายแพ้ต่อพวกออโธด๊อก แต่พวก อัศวินทิวทัน ยังคงมีอำนาจทางทหารมาก และยังยกทัพไปรุกรานดินแดนข้างเคียงอยู่เนืองๆ เช่นเข้ารุกรานลิทัวเนีย ที่ซึ่งยังมีคนนับถือ Pangan อยู่ และมีเรื่องกระทบกระทั่งกับพวก Poland อัศวินทิวทัน ขึ้นสู่จุดสูงสุด
ในปี 1407 อาณาเขตของรัฐกินพื้นที่หลายแคว้น และมีอำนาจในทะเลบอลติก และลงสู่จุดตกต่ำ ที่สมรภูมิ Tannenberg เนื่องด้วยทั้ง ประเทศโปแลนด์ และ ประเทศลิทัวเนีย ต่างมองว่า อัศวินทิวทัน เป็นศัตรูร่วมของทั้ง 2 ประเทศ จึงตกลงตั้งกองทัพผสม เพื่อกำจัด อัศวินทิวทัน ให้หมดสิ้นไป พวก อัศวินทิวทัน ก็เริ่มรู้ตัวว่าทั้ง 2 ประเทศนั้น กำลังเตรียมการเพื่อที่จะกำจัดตนเองออกไป จึงตระเตรียมพร้อมรับมือเต็มที่ และเตรียมรับศึก 2 ด้าน กองทัพผสมโปแลนด์-ลิทัวเนีย เดินทัพเข้าไปในดินแดนของพวก อัศวินทิวทัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่ฐานบัญชาการของพวกอัศวินทิวทัน สร้างความตระหนกต่อพวก อัศวินทิวทัน อย่างมาก เพราะคิดว่าศัตรูจะใช้วิธีตีขนาบ 2 ข้าง นึกไม่ถึงว่าศัตรูจะรวมตัวตีด้านเดียวกันหลังจากพ่ายแพ้ อัศวินทิวทัน ก็ถูกบีบให้ทำสัญญาที่ทำให้ต้องสูญเสียดินแดนของตนเอ งในปรัสเซียไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสูญเสียดินแดนของตนในปรัสเซียทั้งหมด แต่พวก อัศวินทิวทัน ยังไม่ได้ล่มสลายไป แต่ยังสามารถรวมตัวกันในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อยู่ ถึงแม้จะสูญเสียอิทธิไปหมดแล้วก็ตาม และยังคงคอยช่วยเหลือ Holoy Roman Empire ในการทำสงครามอยู่บ่อยๆ และยังคงอำนาจทางทหารอยู่มาได้เป็นร้อยปีจนถึงยุคดิน ปืน ปี1809 บทบาททางการทหารของ อัศวินทิวทัน ก็จบสิ้นลง เมื่อนโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส สั่งให้ยุบกำลังทหารของกลุ่มทั้งหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น